มารู้จักหัวซิป กับ ป้ายซิปกันเถอะ

ข้าวของเครื่องใช้ที่เราใช้ในปัจจุบันมีซิปเป็นองค์ประกอบอยู่มากมาย แต่ว่าในแต่ละชนิดก็มีหัวซิป ป้ายซิปที่แตกต่างกัน หน้าตาก็ไม่เหมือนกัน แล้วทราบกันหรือไม่ว่า ทำไมหัวซิปเหล่านั้นถึงแตกต่างกัน เป็นเพราะเรื่องความสวยงาม ตามดีไซน์การออกแบบของผู้ผลิต หรือเป็นที่การใช้งานและการทำงานของซิป วันนี้บริษัท เสริมชัย ซิปเปอร์ จะมาแนะนำให้ทุกท่านทราบว่า หัวซิป-ป้ายซิป ที่เราใช้ๆกันอยู่ มีแนวคิดอย่างไร

หัวซิป (slider) และ ป้ายซิป(puller) ล้วนเป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้ในซิป และสองอย่างนี้ก็อยู่ด้วยกันแบบแยกกันไม่ได้เลยเสียด้วย ในการใช้งานแต่ละแบบก็ทำให้เกิดลักษณะต่างกันไป ปัจจุบันเรามีแบบของหัวซิป ป้ายซิป ใช้กันแบบไหน ลักษณะใด และมีชื่อเรียกว่าอย่างไรบ้างค่ะ

“เรียกตามการใช้งาน”

  1. แบบหัว Non-Lock : เป็นชื่อเรียกระบบหัวซิปแบบทั่วไป ที่สามารถรูดได้อิสระ ไม่มีกลไกพิเศษ นิยมใช้ในอุปกรณ์กระเป๋าทั่วไป ป้ายซิปสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการ
  2. แบบหัว Auto-Lock : เป็นชื่อเรียกระบบหัวซิปที่มีระบบล็อคอัตโนมัติหรือ กันไหลนั่นเอง นิยมใช้ในผลิตเสื้อแจ็กเก็ต และกระเป๋าต่างๆ ที่ต้องทนต่อแรงตึงต่างๆ
  3. แบบหัว Pin-Lock : เป็นชื่อเรียกระบบหัวซิปที่มีระบบเขี้ยวสำหรับล็อค วิธีสังเกตความแตกต่างของหัวซิปประเภทนี้คือ ด้านใต้ป้ายซิปจะมีเขี้ยวติดอยู่ และต้องใช้การพับป้ายลงเท่านั้นถึงจะล็อคได้ นิยมใช้ในการผลิตกางเกง
  4. แบบหัว Double Pull : เป็นระบบเสริมที่ผลิตให้หัวซิปมีที่สำหรับป้ายซิปทั้งสองฝั่งเพื่อใช้ในการดึงรูปซิปได้สองด้าน นิยมใช้ในการผลิตเต๊นท์
  5. แบบหัว Key-lock : เป็นระบบที่ทำเสริมขึ้นมาให้ซิปมีระบบกุญแจล็อค แต่รูปแบบนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยม ภายหลังจะใช้เป็นลักษณะหัว Non-lock มาทำรูคล้องแม่กุญแจแทนเสียมากกว่า

“เรียกตามรูปลักษณ์ การออกแบบ และวัสดุ”

  1. แบบเส้นยาง หรือ Cord Pull : ใช้ยางยืดเส้นแทนวัสดุทั่วไป ทั้งนี้ส่วนมากจะทำให้มีความยาวที่สามารถดึงได้ง่าย และด้วยความเป็นยางทำให้ทนต่อเหงื่อต่อน้ำได้มากกว่าป้ายที่เป็นโลหะทั่วไป นิยมใช้ในการผลิตสินค้าอุปกรณ์เกี่ยวกับกีฬา
  2. แบบห่วงโซ่ Chain Pull : หัวซิปแบบนี้ เป็นการเพิ่มลูกเล่น เพื่อให้ลักษณะออกมาคล้ายคลึงกับรูปแบบพวงกุญแจ ทำให้ลบภาพความเป็นหัวซิปได้ดี
  3. แบบป้ายห้อย หรือ Tape Pul : นิยมใช้มากในอุปกรณ์ที่เป็นแบรนด์ต่างๆ และยังสามารถเล่นรูปแบบได้มากมาย
  4. แบบป้ายหนัง หรือ Leather Pull : นิยมใช้มากในวงการตัดเย็บกระเป๋า โดยเฉพาะเครื่องหนังเพื่อให้มีความเข้ากัน และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
  5. ป้ายซิลิคอน หรือ Silicon Pull : ส่วนใหญ่จะเห็นป้ายนี้บ่อยๆ ในการผลิตกระเป๋าเป้เดินทาง อุปกรณ์กีฬา เนื่องจากมีคุณสมบัติน้ำหนักเบาและกันน้ำ ส่วนมากจะนำมาหล่อและหุ้มลงบนแกนป้ายซิปหนึ่งอีกที

จริงๆนอกจากซิปทั้ง 10 แบบนี้ ยังมีซิปอีกหลายรูปแบบมากมาย ซึ่งก็มีการคิดค้นพัฒนา ออกแบบขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา จะเห็นได้ว่าแม้แต่ส่วนเล็กๆ ที่เป็นอุปกรณ์ เช่นซิป หากเราให้ความสำคัญมัน มันก็จะสามารถกลายมาเป็นสเน่ห์ และเอกลักษณ์ของสินค้าเราได้ค่ะ

หากท่านใดมีความสนใจในซิปหรือต้องการให้ซิปของเราเป็นส่วนหนึ่งในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทางบริษัท เสริมชัย ซิปเปอร์ จำกัด ยินดีให้คำปรึกษา และรองรับการผลิตตามที่ลูกค้าต้องการ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ซิป หรือ Zipper อุปกรณ์ต้องมีสำหรับงานเย็นผ้า รู้หรือไม่! ซิปมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอเมริกา ถูกประดิษฐ์และได้รับการพัฒนา ในช่วงระหว่างปีค.ศ. 1906 – 191...